Air Compressors หลักการทำงานของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม
การทำงานของเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลม(air compressors) คือ เมื่อเปิดสวิทช์การทำงานของเครื่องโดยการเสียบไฟเข้าระบบ ถ้าลมยังมีความดันต่ำกว่าที่กำหนด Pressure Switch (ON/OFF) ก็จะต่อวงจรไฟฟ้าผ่านไปยังมอเตอร์ ทำให้มอเตอร์หมุน และไปขับให้ปั๊มลมทำงานด้วย และเมื่อลมภายในถังบรรจุลมมีความดันสูงถึงพิกัดที่กำหนดไว้ Presssure Switch (ON/OFF) ก็จะตัดวงจรไฟฟ้าให้มอเตอร์หยุดทำงานด้วย แต่เมื่อลมภายในถังบรรจุลมถูกนำไปใช้งาน และความดันภายในถังบรรจุลมต่ำลงจนถึงตำแหน่งที่กำหนดไว้ Presssure Switch (ON/OFF) ก็จะต่อวงจรให้มอเตอร์และปั๊มลมทำงานต่อไป โดยการทำงานของปั๊มลม(Air compressors) จะทำงานสลับกันไปเช่นนี้ตลอดเวลาโดยอัตโนมัติ ดังนั้นถ้าต้องการให้เครื่องอัดลมหยุดการทำงานจะต้องปิดสวิทช์ควบคุมการทำงาน ของปั๊มลม(Air compressors)
การจะตัดสินใจซื้อปั๊มลมหรือเครื่องมือลมนั้น
มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพื่อประกอบการตัดสินใจดังนี
ประการแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ
เรื่องของแรงดันสูงสุด
(max working
pressure)
ที่ต้องการใช้งาน
เพื่อที่จะได้ตัดสินใจว่าจะซื้อเครื่องอัดลมแบบ
single stage หรือ
two stage
ประการที่สองคือ
ต้องทราบถึงปริมาณลม
(max air consumption
หรือ max capacity)
เพื่อที่จะตัดสินใจได้ว่าจะซื้อเครื่องอัดลมขนาดใหญ่หรือเล็ก
เป็นระบบ
reciprocating type
ซึ่งจะมีทั้ง oil
flood, oil free, oil
less type หรือ
rotary screw type
ประการที่สามคือ
ต้องการ clean air
system ขนาดไหน
ซึ่งจะมี accessories
เพิ่มเติมดังนี้
1. ถังบรรจุลม (air
tank)
ถ้าต้องการเพิ่มปริมาตรลม
2.
เครื่องลดอุณหภูมิลม
(air after coller)
เพื่อลดอุณหภูมิลม
3. เครื่องทำลมแห้ง
(air dryer)
เพื่อกำจัดน้ำออกจากระบบลมและเลือก
dew point ที่ต้องการ
สามารถเลือกใช้เป็น
refridgeration
conpressed air dryer
ซึ่งจะทำให้ dew
point ต่ำสุดที่ 2°C
ถ้าต้องการจุด dew
point
ที่ต่ำกว่าก็จะต้องใช้เป็น
desiccant compressed
air dryer
ซึ่งจะสามารถทำจุด
dew point ได้ต่ำถึง
4. ตัวกรองลม (air
filter)
สามารถกรองได้ตั้งแต่หยาบไปถึงละเอียด
แยกเป็น seperator
filter, air line
filter, high
efficiency oil
removal filter และ
ultra high
efficiency oil
removal filter
ซึ่งทั้งหมดสามารถดักหรือกรองฝุ่น
(ทั้งของแข็งและของเหลว)
3–0.01 ไมครอน
คงเหลือน้ำมันอยู่ในปริมาณ
5–0.001 ppm w/w
(mg/m³)
และอาจเพิ่มตัวดักกลิ่น
(activated carbon
filter)
สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและยาหรือห้องทดลองต่าง
ๆ
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นอยู่ที่ความต้องการของแต่ละท่านว่าต้องการประสิทธิภาพของลมอัดละเอียดหรือสะอาดมากน้อยเพียงใด
อีกทั้งควรจะคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของห้องบรรจุเครื่องอัดลมว่ามีพื้นที่เท่าไร
ระดับความสั่นสะเทือน
อุณหภูมิแวดล้อม
ช่วงเวลาการทำงาน
ช่วงเวลาที่หยุดเครื่องเพื่อทำการตรวจบำรุงรักษา
ช่วงเวลาการซ่อม
ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลา
ท่านควรจะจัดซื้อเครื่องอัดลมสองชุดเพื่อ
stand by หรือไม่
ปั๊มลม :
อุปกรณ์ที่ควรมีติดรถไว้
มี Case
ประเภทรถเก่าจอดไว้นานๆ
ไม่ได้ใช้จนเกิดอาการยางรั่ว
ลมซึม
ทำให้ขับรถออกไปไม่ได้
หรือปัญหาอื่นอะไรทำนองนี้
ซึ่งถ้ายังขืนขับออกไปนี่ก็มีสิทธิ์ยางปลิ้นออกจากระทะล้อกันเลยนะครับ
มาถึงขนาดนี้ก็ลืมเรื่องแม่แรงที่จะมาใช้ยกรถ
ถอดเปลี่ยนล้อ
เพื่อขับรถออกไปปะยางซะเถอะครับ
ปัญหาฉุกเฉินพวกนี้
พอจะมีทางเอาตัวรอดได้ถ้าคุณพอจะมีอุปกรณ์ช่วยติดรถไว้บ้าง
ในที่นี้ผมหมายถึง
ปั๊มลมขนาดเล็ก ครับ
ปั๊มลมขนาดเล็ก
สามารถพกพาได้สะดวก
ซึ่งผมพกเป็นคู่หูคู่ใจติดท้ายรถผมไว้เสมอไม่ว่าจะไปไหนมาไหน
วิธีใช้ก็ง่ายมากๆ
แค่เสียบหัวเติมเข้ากับจุกลมของล้อรถ
แล้วก็เอาปลายคีบไปคีบเข้ากับแบตเตอร์รี่รถยนต์
เพียงเท่านี้ก็เติมลมล้อรถได้แล้ว
แต่ผู้รู้หลายท่านแนะนำว่าเหตุการณ์แบบนี้ควรเติมเผื่อจากระดับปกติไปอีกประมาณ
5-6 ปอนด์
เพราะเราไม่รู้ว่ารอยรั่วนั้นมันจะมีลมซึมออกมาเร็ว
หรือมากน้อยขนาดไหน
โดยเฉพาะตอนที่รถแล่นยางเกิดการขยับตัวและบิดไปมา
จากนั้นก็รีบพารถไปหาร้านปะยางที่ใกล้ที่สุด
กรณีของผมหลังจากเติมลมแล้วรถผมวิ่งได้ระยะทางประมาณ
3-4 กิโลเมตร
โดยที่ยางและล้อยังอยู่ในสภาพปกติ
ลมไม่ซึมออกมามาก
ประโยชน์ข้อเสีย
-
รถต้องแบกน้ำหนักเพิ่ม
-
รวดเร็วกว่าการเปลี่ยนยางอะไหล่
-
เป็นการปฐมพยาบาลเพื่อพารถออกมาและไปยังร้านซ่อมยาง
-
แต่ถ้าปัญหามาจากอย่างอื่นๆ
เช่น ยางฉีกขาด
ก็ไม่สามารถทำได้
- ไม่ต้องเหนื่อยมาก
เมื่อเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนยางอะไหล่
อย่างไรก็ตาม
ข้อควรระวังคือ
ถ้าพบว่ายางรถหมดลมชนิดแบนแต๊ดแต๋
หลังจากได้ปั๊มลมมาแล้ว
อย่าเพิ่งใจร้อนรีบเสียบเข้ากับจุกล้อแล้วเติมเข้าไปทันที
ควรนำรถขึ้นแม่แรงให้ล้อรถลอยขึ้นจากพื้นสักนิด
เพื่อให้ลมสามารถไหลเข้าสู่ล้อได้อย่างสะดวก
โดยที่กระทะล้อไม่กดทับยางเป็นการขัดขวางการไหลเข้าของลม
เพราะไม่เช่นนั้นลูกสูบในกระบอกสูบของปั๊มลมจะพังอย่างแน่นอน
และหลังจากที่เติมลมได้แล้วก็รีบแวะเข้าศูนย์บริการ
หรือปั๊มจะดีกว่านะครับ
มาที่การเลือกปั๊มลมสำหรับติดรถยนต์
ตรงนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณในกระเป๋าและความต้องการส่วนตัวจะดีกว่า
เพราะตอนนี้ในท้องตลาดมีมากมายหลากหลายยี่ห้อให้เลือก
แต่ไหนๆจะต้องเสียสตางค์กันทั้งที
เอาของที่มันดีหน่อยน่าจะดีกว่า
ท่านผู้รู้แนะนำผมมาว่าควรเป็นปั๊มลมแบบลูกสูบคู่
และมีขนาดกระบอกสูบที่ใหญ่หน่อย
จะได้ในเรื่องของความทนทานในการใช้งาน
ยิ่งกระบอกสูบใหญ่
ยิ่งทำลมเร็วแถมมาเป็นแพ็คคู่คุณก็จะได้ลมทันใจมากขึ้น
เพราะอุปกรณ์ตัวนี้เราพกพาไว้เพื่อช่วยเหลือยามคับขัน
โดยที่คุณจะได้ไม่เหนื่อยมากนัก
อีกจุดที่ผมอยากเสนอด้วยตัวเอง
คือแบบที่หนีบกับแบตเตอร์รี่
หลายคนคงคิดว่า
ใช้แบบที่หนีบกับที่จุดบุหรี่สะดวกกว่า
แต่สำหรับผมอยากจะแนะนำให้เลือกแบบที่หนีบกับแบตเตอร์รี่มากกว่า
มันอาจสะดวกไม่เท่ากัน
แต่การที่เสียบกับที่จุดบุหรี่มีข้อควรระวังคือ
การใช้งานต่อเนื่องอาจทำให้เกิดความร้อนจนส่งผลให้ฟิวส์ของที่จุดบุหรี่ขาดได้ครับ
ปั้มลมพลังงานใหม่ที่ทั่วโลกให้ความสนใจมากขึ้น
เนื่องจากมีเครื่องมือลมลองรับให้ใช้งานมากมาย
อาทิเช่น
สกัดคอนกรีตลม บ็อกลม
ปากกาลม ไขควงลม
สว่านลม AIR
DRILLS,ปืนเป่าลม AIR
BLOW GUN,
เครื่องยิงตะปูลม AIR
STRAPLERS/AIR
NAILERS เป็นต้น
การใช้ปั้มลมจึงเป้นที่นิยมแพร่หลายเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
เพราะสามารถใช้กับอุตสาหกรรมได้เป็นแหล่งพลังงานขับเคลื่อน
ปั้มลมของเครื่องจักร
ปั้มลมของเครื่องมือลม
ปั้มลมสำหรับงานอุตสาหกรรม
ร้านปะยางปั้มลมตามอู่ซ่อมรถ
ปั้มลมพ่นสีตามอู่ซ่อมสีรถยนต์
ร้านล้างรถคาร์แคร์
ปั้มลมสำหรับทำเฟอนิเจอร์งานไม้
ตกแต่งภายใน
หรือใช้ตามบ้านสำหรับงานอดิเรก
ทำสีโมเดล
ปั้มลมแอร์บลัช
งานประกอบโมเดล
ปั้มลม
หรือเครื่องอัดลม
เราควรมาดูความต้องการใช้งานปั้มลมให้เหมาะสมกับงาน
ปั้มลมสามารถแบ่ง 6
ประเภท
1. เครื่องอัดลมหรือ
ปั้มลมแบบลูกสูบ
(PISTON COMPRESSOR)
2. เครื่องอัดลมหรือ
ปั้มลมแบบสกรู (SCREW
COMPRESSOR)
3. เครื่องอัดลมหรือ
ปั้มลมแบบไดอะเฟรม
(DIAPHARGM
COMPRESSOR)
4. เครื่องอัดลมหรือ
ปั้มลมแบบใบพัดเลื่อน
(SLIDING VANE ROTARY
COMPRESSOR)
5. เครื่องอัดลมหรือ
ปั้มลมแบบใบพัดหมุน
(ROOTS COMPRESSOR)
6. เครื่องอัดลมหรือ
ปั้มลมแบบกังหัน
(RADIAL AND AXIAL
FLOW COMPRESSOR)
1. ปั้มลมแบบลูกสูบ
(PISTON COMPRESSOR)
เป็นเครื่องอัดลมหรือปั้มลมที่นิยมใช้ถือว่าเป็นปั้มลมที่ใช้กันมากที่สุดเนื่องจากความสามารถอัดลม
คือสร้างความดันหรือแรงดันได้ตั้งแต่
1บาร์
(bar)ไล่ระดับไปจนถึงเป็นพันบาร์(bar)
ทำให้ปั้มลมแบบลูกสูบทำได้ตั้งแต่ความดันต่ำ
ความดันปานกลาง
จนไปถึงความดันสูง
มีแบบใช้สายพาน
จะให้เสียงเงียบกว่าแบบ
โรตารี่
ที่มีมอเตอร์ในตัว
ข้อดีของโรตารี่คือได้ลมใช้งานที่เร็วกว่าแบบสายพาน
วิธีการเลือกซื้อปั้มลม
เราต้องเลือกดูงานที่เราจะใช้
เราต้องการปั้มที่แรงดันมากน้อยขนาดไหน
ปริมาณลมที่ต้องการมาก
ความต่อเนื่องของงาน
หรือปริมาณการจ่ายลม
ลมที่ใช้ต้องสะอาดระดับไหน
เช่น
การทำงานของช่างไม้
ใช้ปั้มลูกสูบ
อาจจะต้องการแรงลมมากพอสมควร
อาจจะแตกต่างเรื่องความต่อเนื่องของงานทำให้
ขนาดของถังบรรจุลมที่ใหญ่
สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง
เครื่องก็จะไม่ต้องทำงานหนักคือปั้มทำงานบ่อย
เมื่อความดันหรือปริมาณลมลดต่ำลง
หรือ
จะใช้ปั้มลมกับแอร์บลัช
สถานที่การใช้งานมีส่วนสำคัญ
เช่น แหล่งชุมชน
บ้านพักอาศัย
อาจก่อให้เกิดความรำคาญได้
หากต้องเลือก ระหว่าง
ปั้มลมสายพาน
กับโรตารี่ (Rotary)
ปั้มลมสายพานจะเสียงเบากว่าปั้มลม
โรตารี่ (Rotary)
หากต้องการลมที่มีความสะอาด
ใช้ปั้มลมแบบ
ไดอะเฟรม
เพราะลมจะไม่ได้สัมผัสกับโลหะเลย
แต่ให้แรงลมน้อย
ใช้กับอุดสาหกรรมเคมี
อาจมีอาการลมขาดช่วงบ้าง
ส่วนปั้มลมแบบสกรูเราจะพบเห็นตามโรงงานเป็นส่วนใหญ่
ให้แรงลมต่อเนื่องและมีความดันตามขนาดของตู้
เป็นต้น
วิธีการเลือกปั้มลมใช้เองที่บ้าน
โดยที่ปั้มลมที่คนนิยมสูงสุดคือ
ปั้มลมแบบลูกสูบ
(PISTON COMPRESSOR)
1.
แรงดันลมที่เราใช้งาน
2.
ปริมาณแรงลมที่ใช้ต่อเนื่อง
3. สถานที่ใช้งาน
เนื่องจากปั้มลมแต่ละประภท
จะมีเสียงดังไม่เท่ากัน
4.
ลมที่ใช้งานมีความสะอาดขนาดไหน
5.ต้องเลือกซื้อปั๊มลมให้มากกว่าการใช้งานเท่านึง
ลองเลือกให้เหมาะสมกับคุณ
Model |
Motor (HP) |
จำนวนสูบ | Max Pressure KG/cm2 | แรงอัด 1/min | ความจุถัง liter | BORE STROCK mm | ขนาดถังลม mm |
SA-1/4 | 1/4 | 1 | 7 | 55 | 36 | 51 x 38 | 250 x 600 |
SA-1/2 S | 1/2 | 2 | 7 | 120 | 64 | 51 x 45 | 300 x 810 |
SA-01 | 1 | 2 | 7 | 207.2 | 92 | 65 x 51 | 330 x 810 |
SA-02 L | 2 | 3 | 10 | 335.1 | 160 | 65 x 51 | 380 x 1220 |
SA-03 S | 3 | 2 | 10 | 504.7 | 200 | 80 x 65 | 480 x 1120 |
SA-05 S | 5 | 3 | 10 | 833.5 | 260 | 80 x 65 | 480 x 1220 |
SA-05 L | 5 | 3 | 10 | 833.5 | 315 | 80 x 65 | 480 x 1500 |
SA-07 | 7.5 | 2 | 10 | 1240 | 315 | 100 x 80 | 480 x 1500 |
SA-10 | 10 | 3 | 10 | 1697 | 315 | 100 x 80 | 480 x 1500 |
SA-15 | 15 | 3 | 10 | 2715 | 520 | 120 x100 | 600 x 1520 |